มารยาทงาม น้ำใจดี รู้หน้าที่ ตรงต่อเวลา มุ่งมั่นในการศึกษา เพื่อพัฒนาสังคม
...โรงเรียนวัดป่าไก่(ส่วนประชานุกูล)...

วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ประวัติโรงเรียนวัดป่าไก่


ประวัติโรงเรียน
โรงเรียนป่าไก่(ส่วนประชานุกูล)ตั้งขึ้นเป็นหลักฐานเมื่อ วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2467 โดยนายอำเภอปากท่อเป็นผู้จัดตั้ง อาศัยศาลาการเปรียญวัดป่าไก่เป็นสถานที่เรียน เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ครูใหญ่คือนายแถว ฤทธิ์ล้ำเลิศ กับ สมุห์ทองอยู่ เจ้าอาวาส
วัดป่าไก่ในขณะนั้น พร้อมด้วยคณะบุคคลที่สนใจทางการศึกษาประกอบด้วย นายคลบ พึ่งพงษ์และนาย คลับ ผึ่งผาย ได้ร่วมกันก่อสร้างอาคารเรียนแบบ ป.2 ซึ่งเป็นอาคารไม้ 2 ชั้น ก่อสร้างได้เพียงโครงร่างก็หมดเงินที่ดำเนินการต่อได้ค้างการก่อสร้างไว้เป็นเวลา 8 ปีเศษ
ต่อมานายเจียวและนางสะอิ้ง พึ่งพงษ์ ได้สละเงินส่วนตัวก่อสร้าง จำนวน 5 ห้อง ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2495 อาคารดังกล่าวถูกพายุพัดพังครูใหญ่ คือนายฟุ้ง สุขศรี พร้อมพระอธิการส่วน เจ้าอาวาสวัดป่าไก่องต่อมาช่วยกันซ่อมแซมให้อาคารอยู่ในสภาพปกติ แต่ไม่คงทนถาวร ต่อมาคณะกรรมการศึกษา เจ้าอาวาสวัดป่าไก่ นายอำเภอ และศึกษาธิการอำเภอปากท่อได้รับการประชุมปรึกษากัน และมีมติให้รื้ออาคารหลังเดิมทิ้งแล้วสร้างอาคารใหม่แบบ ป.01 ซึ่งเป็นอาคารเรียนแบบกรมสามัญศึกษาชั้นเดียว
วันที่ 1 ตุลาคม 2509 ได้โอนการจัดการศึกษาจากกระทรวงศึกษาธิการมาให้ขึ้นกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด กระทรวงมหาดไทย ทางกำนันผู้ใหญ่บ้านพร้อมด้วยพระครูวรกิจจาภิรัต เจ้าอาวาสวัดป่าไก่ได้ร่วมกันสร้างอาคารเรียนขึ้นอีก 1 หลัง ซึ่งเป็นอาคารเรียนแบบวันครูดัดแปลงแบบคอนกรีตชั้นเดียวขนานนามอาคารนี้ว่า “ ตึกวรกิจจาภิรัตรัฐประชาสงเคราะห์ ”
ปีงบประมาณ 2516 ได้รับงบประมาณเพื่อก่อสร้างอาคารเรียนแบบ ป.1 ก
จำนวน 2 ห้อง โดยมีนายเอิบ วงศ์ทวีทรัพย์ มอบที่ดินให้จำนวน 3 ไร่ 2 งาน 85 ตารางวา
คิดเป็นราคาที่ดิน ประมาณ 200,000 บาท
ปีงบประมาณ 2517 ได้รับงบประมาณเพื่อต่อเติมอาคารแบบ ป.1 อีก 4 ห้องเรียน
ปีงบประมาณ 2520 ได้รับงบประมาณเพื่อสร้างอาคารแบบ 017 ขนาด 4 ห้องเรียน
ในปี พ.ศ. 2544 ทางโรงเรียนได้รับงบประมาณเพื่อให้รื้อย้ายก่อสร้างอาคารแบบ 017 มาไว้ที่บริเวณอาคารมัธยม จำนวน 4 ห้องเรียน และได้รับเงินบริจาคจาก นายบุญเจิด แก้วกระจ่าง
จำนวน 207,350 บาท เพื่อต่อเติมอาคารชั้นล่างอีก 4 ห้อง
ในปีการศึกษา 2536 คณะกรรมการการประถมศึกษา จังหวัดราชบุรี ( กปจ ) ได้มีมติ
รับโอน โรงเรียนราษฎร์วัดป่าไก่ ( ในพระบรมราชูปถัมภ์ ) ซึ่งการจัดการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา
ตอนต้นมารวมกับโรงเรียนวัดป่าไก่( ส่วนประชานุกูล ) ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2536
พร้อมทั้งทรัพย์สินต่างๆ เช่น อาคารคอนกรีตทรงไทย 2 ชั้น 12 ห้องเรียน 1 หลังและรับโอนครูที่สอนประจำในโรงเรียน วัดป่าไก่จำนวน 4 รายบรรจุเป็นข้าราชการครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ (สปช) โดยวิธีการคัดเลือกเป็นกรณีพิเศษตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม 2536
โรงเรียนวัดป่าไก่ (ส่วนประชานุกูล ) ได้เข้าอยู่ในโครงการ “โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา” ของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาเอกชนนั้น เมื่อปีการศึกษา 2536 และได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนปฏิรูปการศึกษา 2540

วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2552

การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 2

การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 2

ชื่อนักศึกษา นางสาวกมลทิพย์ ศรีสุวรรณ
รหัสประจำตัว 49416004
โปรแกรมวิชา ครุศาสตร์
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552

คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ราชบุรี
ระเบียบปฏิบัติ


1. นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 จะต้องมีเวลาปฏิบัติงานครบ 1 ภาคเรียน ยกเว้นกรณีจำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากผู้บริหารโรงเรียน
2. นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 จะต้องแต่งการตั้งแต่เส้นผมจรดรองเท้า และใช้เครื่องแบบนักศึกษาตามระเบียบของมหาวิทยาลัยที่แนบมา
3. นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 ต้องห้ามการพนัน อบายมุข สิ่งเสพย์ติดทุกอย่าง ชู้สาว รวมไปถึงการกระทำที่ผิดคุณธรรมทั้งในและนอกเวลาปฏิบัติงานอย่างเด็ดขาด
4. นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 จะต้องปฏิบัติตามคำตักเตือนและคำแนะนำของครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ ผู้อำนวยการ อาจารย์พี่เลี้ยง และอาจารย์นิเทศอย่างเคร่งครัด
5. นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 จะต้องไปโรงเรียนฝึกประสบการณ์ก่อนเวลาโรงเรียนเข้าอย่างน้อย 30 นาที และกลับที่พักหลังจากโรงเรียนเลิกแล้ว 30 นาที เป็นอย่างน้อย
6. นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 จะต้องลงเวลาการทำงานและกลับตามความเป็นจริงในบัญชีลงเวลาการทำงานที่โรงเรียนจัดไว้ให้
7. การขออนุญาตลาป่วย นักศึกษาจะต้องยื่นใบลาตามระเบียบของทางราชการต่อครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ หรือผู้อำนวยการ ให้ส่งใบลาในวันที่ป่วยหรือวันแรกที่กลับมาทำการสอนหลังจากหายป่วยแล้ว
8. ในระหว่างเวลาราชการ ถ้านักศึกษามีความจำเป็นจะต้องออกนอกบริเวณโรงเรียนให้นักศึกษาอนุญาตจากอาจารย์พี่เลี้ยง หรือผู้บริหารโรงเรียน และปฏิบัติตามระเบียบการออกนอกบริเวณโรงเรียนตามระบุในสัญญาที่ทำไว้กับฝ่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
9. นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 จะต้องปฏิบัติตามระเบียบต่าง ๆ ของโรงเรียน เช่นเดียวกับครูประจำการขั้นทดลองปฏิบัติงานจึงไม่มีสิทธิลากิจ ยกเว้นกรณีได้รับอนุญาตจากผู้บริหารโรงเรียน
10. นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 จะต้องรายงาน ครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ หรือผู้อำนวยการ และอาจารย์นิเทศทราบทันที ถ้ามีเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โรงเรียน มหาวิทยาลัย นักเรียน หรือ ตัวนักศึกษาเอง
11. นักศึกษาควรปรึกษาอาจารย์พี่เลี้ยงเกี่ยวกับการทำแผนการสอน และต้องส่งแผนการสอนให้อาจารย์พี่เลี้ยงตรวจล่วงหน้าก่อนสอน 1 สัปดาห์
12. นักศึกษาที่เป็นประธานหน่วยฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 จะต้องรายงานการมาสาย ขาด การลาป่วย ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์ ในโรงเรียนให้อาจารย์นิเทศทราบทุกครั้งที่มาทำการนิเทศ และสรุปเป็นลายลักษณ์อักษรส่งฝ่ายฝึกประสบการณ์ในวันสัมมนาทุกครั้ง และวันปัจฉิมนิเทศ
13. นักศึกษาจะต้องมีการประชุมหารือ เพื่อวางโครงการปฏิบัติงานและแก้ไขปัญหาต่างตลอดจนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันเป็นประจำทุกสัปดาห์ และเลขานุการหน่วยฝึกต้องจดบันทึกไว้ในสมุดรายงานการประชุมทุกครั้ง และส่งฝ่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในวันสัมมนาและปัจฉิมนิเทศ
14. นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 ที่พักในบ้านพักของโรงเรียน จะต้องไม่นำบุคคลภายนอกมาค้างคืนในบ้านพัก การไปค้างคืนที่อื่นจะต้องแจ้งให้อาจารย์ที่รับผิดชอบเรื่องที่พักทรายอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรทุกครั้ง
15. ถ้านักศึกษาประพฤติตนไม่เหมาะสมกับการเป็นนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู แม้นักศึกษาได้รับการว่ากล่าวตักเตือนแล้วก็ยังไม่แก้ไขปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น มหาวิทยาลัยอาจพิจารณาให้นักศึกษาพ้นสภาพการฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 ในภาคเรียนนั้น

สิ่งที่อยากได้จากนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

สิ่งที่อยากได้จากนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูจากที่มีการจัดประชุมร่วมกันระหว่างผู้บริหารโรงเรียน ครูพี่เลี้ยง โรงเรียน ฝึกปฏิบัติการสอนของปี 5 วันที่ 28 สิงหาคม 2552
ได้มีการรวบรวมเสนอผลของการอภิปรายร่วมกันดังนี้
สิ่งที่ผู้บริหารและอาจารย์พี่เลี้ยงอยากเห็นในตัวนักศึกษาฝึกสอน คือ
1 สุขภาพร่างกาย แข็งแรง สดชื่น กระฉับกระเฉง
2. มีการเตรียมการสอนอย่างดี มีสื่อที่สร้างขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ
3. แต่งกายเรียบร้อย ตั้งแต่ทรงผมจรดรองเท้า
4. นักศึกษาควรรู้กฎระเบียบหรือวัฒนธรรมองค์กรในโรงเรียนที่ไปฝึกสอนและมีการปรับตัวที่ดี
5. อยากให้นักศึกษามีลักษณะเสนอตัวต่อกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน หรือ ครู อาจารย์ ในโรงเรียน
6. อยากให้นักศึกษาไปโรงเรียนแต่เช้า และทำงานเต็มเวลา
7. ควรมีความรู้อื่น ๆ นอกจากวิชาเอก หมายถึงควรสอนได้หลากหลาย
8. อยากให้มีความคิดสร้างสรรค์ และแสวงหา สิ่งใหม่ ๆ ไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครูในโรงเรียนบ้าง
9. อยากให้นักศึกษาฝึกสอนมีลักษณะ Love of Wisdom คือ ใฝ่รู้ มีความ Active พร้อมที่จะเข้าไปเรียนรู้งานต่าง ๆ

โครงการครูสหกิจ มรภ.จอมบึง

โครงการครูสหกิจ มรภ.จอมบึง นักศึกษาคงทราบแล้วว่ารุ่นพี่ ปี 5 ของคณะครุศาสตร์ กำลังฝึกปฏิบัติการสอน ในสถานศึกษาเป็นระยะเวลา 1 ปี หรือ 2 ภาคเรียน ซึ่งผ่านมาแล้วเกือบ 1 ภาคเรียน ในการฝึกปฏิบัติการสอนครั้งนี้ เป็นการฝึกในโครงการ ครูสหกิจศึกษา ครูสหกิจคืออะไร ครูสหกิจเป็นโครงการที่สำนักงานการอุดมศึกษา (ส.ก.อ.) ทำโครงการขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาครูขาดแคลน โดยความร่วมมือกันระหว่าง สถานศึกษา และโรงเรียนที่ขาดแคลน หลักการ1. การปฏิบัติการสอนของนักศึกษาครูในโรงเรียนที่ขาดแคลนครูให้เป็นไปโดยความสมัครใจของนักศึกษา2. นักศึกษาครุที่จะเข้าร่วมโครงการต้องเป็นนักศึกษาครูหลักสูตร 5 ปี3. ระยะเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติการสอนของนักศึกษาได้แก่ภาคเรียนที่ 2 ของชั้นปีที่ 4 และภาคเรียนที่ 1 ชั้นปีที่ 54. การนิเทศการสอนของนักศึกษาเป็นการดำเนินงานร่วมกับ 3 ฝ่าย ได้แก่ สถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ในพื้นที่และครูผู้เกี่ยวข้องในโรงเรียน5. ค่าตอบแทนการปฏิบัติการสอนของนักศึกษาในอัตรา 1,200 บาท/สัปดาห์ หรือ 4,800 บาท/เดือนโครงการนี้มีระยะดำเนินการ 2550-2553 แล้วแต่ว่ารัฐบาลจะอนุมัติให้ดำเนินการต่อหรือไม่ ก็คงต้องติดตามต่อไป